เมื่อใจเกิดไม่เป็นกลางโน้มเอียงไปสิ่งไหน
อีกสิ่งก็ผิดอยู่เสมอ ไม่ให้แม้โอกาส หรือ แม้จะเหลือบตาไปดู
การมอง การพิจารณาอย่านี้ เรียกว่า มองแบบมีอคติ
สังคมที่วุ่นวายทุกวันนี้ สืบเนื่องมาจากอคติของผู้คน
พุทธศาสนาแบ่งอคติออกเป็น 4 ประเภท ตามพื้นฐานแห่งจิตใจ คือ
1. ฉันทาคติ ความละเอียงเพราะความรักใคร่ หมายถึง การทำให้เสียความยุติธรรม
เพราะอ้างเอาความรักใคร่หรือความชอบพอกัน ซึ่งมักเกิดกับตนเอง ญาติพี่น้อง
และคนสนิทสนม ในสังคมพบได้มาก
การแก้ฉันทาคติ ต้องทำใจให้เป็นกลาง โดยการปฏิบัติต่อทุกคนให้เหมาะสมเหมือนๆกัน
อันนี้คนเป็นนายคนจะต้องยึดไว้เสมอ
2. โทสาคติ ความละเอียงเพราะความไม่ชอบ เกลียดชัง หรือโกรธแค้น หมายถึง การทำให้เสีย ความยุติธรรม เพราะความโกรธ หรือลุอำนาจโทสะ หลายๆคนใช้สิ่งนี้และ เมื่อรวมได้มากหลายๆคน ความเสียหายยิ่งใหญ่ก็จะตามมา
การแก้ไขโทสาคติ ทำได้ด้วยการทำใจให้หนักแน่น รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา และพยายาม
แยกเรื่องส่วนตัวกับเรื่องงานออกจากกัน
3. โมหาคติ ความละเอียงเพราะความไม่รู้ หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หมายถึง การทำให้เสีย
ความรู้สึกธรรมเพราะความสะเพร่า ความไม่ละเอียดถี่ถ้วน รีบตัดสินใจก่อนพิจารณาให้ดี
เพียงชั่วแล่นเท่านั้น ขาดยั้งคิด ผลลัพธ์อาจสูญเสียยิ่งใหญ่
วิธีแก้ไขโมหาคติ ทำด้วยการเปิดใจให้กว้าง ทำใจให้สงบ มองโลกในแง่ดี และ ยอมรับความคิดเห็น ของผู้อื่น
4. ภยาคติ ความละเอียงเพราะความกลัว หมายถึง การทำให้เสียความยุติธรรม เพราะมีความหวาดกลัวหรือเกรงกลัวภยันตราย
วิธีแก้ภยาคติ ทำได้ด้วยการพยายามฝึกให้เกิดความกล้าหาญ โดยเฉพาะความกล้าหาญทางจริยธรรม คือ กล้าคิด กล้าพูดในสิ่งที่ดีงาม ไม่ใช่พูดให้ตัวเองพ้นผิดไปวันๆ
อคติเป็นทางที่ไม่ควรปฏิบัติ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยง โดยการพิจารณาถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นตามมาหากพิจารณาว่าเรากำลังมีจิตใจลำเอียง ก็ให้ปรับปรุงพฤติกรรมของตนเองใหม่ให้ตรงกันข้าม คือความไม่ลำเอียง
สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือ การมองแต่ตัวเอง ยึดว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้น ดีแล้ว เหมาะสมแล้ว ยิ่งมีอำนาจวาสนาผู้คนไม่กล้าท้วงติง ยิ่งทำให้อคติในตัวล้นเหลือ หากไม่รู้สึกใดๆ ก็คงเป็นสุขดีอยู่ หากแต่วันใดหมดวาสนา
แล้ว สำนึก จะนั่งทนดูตัวเองได้อย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
แสดงความเห็นให้รู้ว่าคุณมาชมกันหน่อยครับ