ชีวิตมีหลายสิ่งที่น่าสนใจ



love is the flower for which love is the honey : victor hugo

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Subaru 昴 [星-일본어 Tanimura Shinji 曲:谷村新司

เคยฟังแล้วชอบมากๆในตอนเด็ก.....

ฉันจะปิดตาอยู่ได้อย่างไร
ในเมื่อโลกภายนอกนั้นแสนเศร้า
แต่ยามเมื่อฉันลืมตาขึ้นมา
ฉันก็พบแต่หนทางที่เปล่าเปลี่ยวและยากลำบาก

โอ้ดาวน้อยเอย
หนทางเจ้านั้นคือ
แตกสลายและร่วงหล่น
ขอเจ้าจงเปล่งประกายส่องนำทางชีวิตฉันบ้าง

ฉันจะก้าวต่อไป แม้ดวงหน้าจะซีดเซียวด้วยเหนื่อยยาก
ฉันจะก้าวต่อไป เป็นดาวน้อยที่คนเมิน ลาแล้ว ดาวจรัสแสง

ลมหนาวเย็นยะเยือก
พัดผ่านเข้าสู่หัวใจ
ทุกคราที่ฉันหายใจ
แต่ดวงใจฉันร้อนรุ่ม ด้วยไฟแห่งความใฝ่ฝัน

โอ้ดาวน้อยเอ๋ย
เจ้านั้นไร้ซึ่งชื่อเสียงเรียงนาม
ขอเจ้าจงมุ่งสู่อวสาน
ด้วยเปรมปรีดิ์

ฉันจะก้าวต่อไป ตามหัวใจปรารถนา
ฉันจะก้าวไปกับเธอ ดาวน้อยที่ด้อยรัศมี ลาแล้ว ดาวจรัสแสง
โอ้ว่าสักวันหนึ่ง คงจะมีใคร เลือกหนทางนี้บ้าง
หนทางที่เปล่าเปลี่ยวยากลำบาก แต่ท้าทาย

ฉันจะก้าวต่อไป แม้ดวงหน้าจะซีดเซียวด้วยเหนื่อยยาก
ฉํนจะก้าวต่อไป เป็นดาวน้อยที่คนเมิน
ลาแล้ว ดาวจรัสแสง ลาแล้ว ดาวที่คนชม

ขอบคุณคำแปลเนื้อเพลงจาก
http://www.hokutoda.com/varietyboard/detail.php?WebID=1596

" ตารางชีวิต ประจำวัน "


เมื่อ ระลึกได้ว่า เรื่องที่เราอยากจะเสพ คือ เรื่องที่เราอยากจะดับ

เราจง อย่านำเรื่องนั้น ๆ มาจัดไว้ ใน รายการ " ตารางชีวิต ประจำวัน "

เช่น

เราต้องการ เลิกเหล้า เลิกกาม เลิกพูดปด เลิกลักทรัพย์

เราควรจัด ตารางชีวิตประจำวัด ว่า

1. ถ้ามีเรื่องให้เราจะต้องพูด เราจะพูดแต่ความจริง ไม่มีคำโกหก

2. ถ้ามีเรื่องให้เราต้องดื่ม เราจะดื่มแต่น้ำเปล่า หรือ น้ำอัดลม ไม่ดื่ม เหล้า ( ของมึนเมา )

3. ถ้ามีเรื่องให้เราต้อง หยิบจับ สิ่งของ ของคนอื่น ที่ไม่ใช่ของเรา เราจะไม่ลักทรัพย์ โดยไม่ขอ หรือ ไม่จ่ายเงิน ถ้าเราต้องการเราต้อง ขอ หรือ ต้องจ่ายเงินเท่านั้น ถ้านอกเหนือจากนั้น เราจะไม่ทำ

ดังนั้น เมื่อเราทราบ แนวทาง ที่เราต้องการ ในชีวิตประจำวัน อย่างชัดเจน อย่างนี้แล้ว

การ ปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน จะเกิดการ ตัดสินใจ กระทำ อย่างอัตโนมัติ โดยไม่ต้อง เลือก ว่า จะ ดื่มเหล้า จะ พูดปด หรือไม่

เพราะ เมื่อเรื่องพวกนี้เข้ามากระทบร่างกาย เราก็จะสามารถ ระลึกได้อย่าง อัตโนมัติว่า เราจะไม่ โดยไม่ต้องลังเล

เมื่อเรา ตัดสินใจ ว่า ไม่โดยไม่ต้องลังเล

ความ เข้มแข็ง ทางจิต จะเกิดขึ้น โดย อัตโนมัย และ ถ้าทำแบบนี้ซ้ำ ๆ ก็จะช่วยให้ ชีวิต ไม่ต้องข้องแวะ กับ ข้อห้าม ศีล 5 โดยปริยาย

หากสังเกตุ จะพบว่า การ จัด ระเบียบชีวิต โดยการ จัดทำตารางชีวิต ประจำแบบนี้ เหมือนกับ การสร้าง สัญญา ให้เกิดขึ้น

เมื่อ สัญญาเกิด ( ถ้า... ตามข้อ 1 ถึง ข้อ 3 ) เื่มื่อเรามีสติ ( ตั้งคำถามต่อสิ่งที่เห็น หยุดคิด ไตร่ตรอง ก่อน เสพ ) เมื่อเรามีการ ระลึกได้ ( ทบทวนสัญญา ต่อ สิ่งที่เห็น ) เมื่อเรา รักษาสัญญา ( ปฏิบัติตามสัญญาในอดีต ) สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จะมีความคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงจากการให้คำมั่นสัญญา

สุดท้าย ก็จะนำไปสู่ จิตใจที่เข้มแข็ง ( ปฏิบัติตามสัญญา ) โดยอัตโนมัติ

อย่างน้อยที่สุด สำหรับการ จัดตารางชีวิต คือ เราจะเบียดเบียนตัวเอง น้อยลง เราจะมีเวลาให้กับ ร่างกายได้พักผ่อน มากขึ้น

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พ่อหลวง





พระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2548 ว่า

"โครงการพระราชดำรินี่ เปิดเผยให้ทุกคนได้ทั้งนั้น แล้วก็ถ้าปฏิบัติตามโครงการพระราชดำริ ทำอย่างเศรษฐกิจพอเพียง ... ถ้าทุกคนเลื่อมใสต้องพอเพียงก็ปฏิบัติเถิด เพราะถ้าปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียง มันใช้ได้จริงๆ ไปได้จริงๆ แต่ว่าอาจจะไม่ค่อยสบาย ... เศรษฐกิจพอเพียง คือทำให้พอเพียง ถ้าไม่พอเพียงไปไม่ได้ แต่ถ้าพอเพียงสามารถนำพาประเทศไปได้ดี"

หลักการทรงงาน 9 ประการ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงใช้ในการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตลอดระยะเวลา 60 ปี ที่พสกนิกรควรจะได้น้อมมาเป็นหลักการในการปฏิบัติตน เป็นกรอบความคิด สำหรับใช้ในการบริหารจัดการองค์การ และเป็นหลักในการพัฒนาประเทศ เพื่อความอยู่ดีมีสุขโดยถ้วนหน้า ได้แก่

(1) หลักการ "พอเพียง" และ "พออยู่-พอกิน" คือ การสร้างความ "พออยู่" "พอกิน" ให้กับคนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้ได้ส่วนก่อนเป็นลำดับแรก ความ "พออยู่-พอกิน" เป็นรากสำคัญของชีวิตที่พอเพียงและเป็นพื้นฐานในการที่จะพัฒนาตนเอง ชุมชน และประเทศชาติในระยะต่อไป

(2) หลัก "การพึ่งตนเอง" คือ การมุ่งเน้นให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเอง สามารถมีอาหาร ที่อยู่อาศัย เพียงพอแก่อัตภาพและการดำรงชีพ โดยไม่ต้องตกเป็นเบี้ยล่างหรือพึ่งพาอาศัยผู้อื่น


(3) หลักการ "ระเบิดจากข้างใน" คือ การดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงความพร้อม และการมีส่วนริเริ่มดำเนินการโดยประชาชนในพื้นที่ มิใช่การริเริ่มจากภายนอก เช่น การสนับสนุนการประกอบอาชีพ โดยการใช้เทคโนโลยีชาวบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เรียบง่ายและมีราคาถูก ชาวบ้านสามารถเรียนรู้ได้เร็วและมีไว้ใช้เอง การสนับสนุนให้ประชาชนอยู่รวมกลุ่มกัน หรือร่วมในกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนของตนก่อน แล้วจึงค่อยขยายการพัฒนาออกมาสู่โลกภายนอก

(4) หลัก "ค่อยเป็นค่อยไป" ตามลำดับขั้นตอน คือ การดำเนินงานที่คำนึงถึงทุกปัจจัยและเงื่อนเวลา ให้มีความพอดี สมดุล รอบคอบ และสอดคล้องกับลักษณะของสังคมและภูมิสังคม มิใช่การดำเนินงานในลักษณะ "ก้าวกระโดด" หรือในแนวทางอนุรักษนิยมสุดโต่ง เช่น การไม่เร่งรัดนำความเจริญเข้าไปสู่ชุมชนในภูมิภาคที่ยังมิได้ทันตั้งตัว แต่ให้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อให้มีความสามารถในการรับแรงปะทะจากสถานการณ์ของโลกภายนอกได้


(5) หลักการ "รวมที่จุดเดียว" คือ การดำเนินงาน ที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาในรูปแบบของ "การพัฒนาแบบผสมผสาน" ที่ให้ผลเป็นการ "บริการรวมที่จุดเดียว" เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริหารงาน จากการที่ต่างคนต่างทำ มาสู่การประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปรากฏเป็นรูปธรรมชัดเจน ในโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในทุกภูมิภาคของประเทศ ที่เป็นศูนย์รวมของการศึกษาค้นคว้าทดลอง และปฏิบัติการพัฒนาในแขนงต่างๆ โดยยึดถือข้อเท็จจริง และปัญหาในแต่ละภูมิภาคที่แตกต่างกันเป็นหลัก

(6) หลัก "การไม่ติดตำรา" คือ การไม่นำเอาทฤษฎีหรือหลักวิชาการของผู้อื่นมาดำเนินการ โดยปราศจากการพิจารณาให้ถ่องแท้ ด้วยสติปัญญาว่า มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพชีวิต และความเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนไทย และสังคมไทยหรือไม่ นักวิชาการชั้นสูงที่ได้รับการศึกษามาจากตะวันตก มักจะนำแนวคิดและทฤษฎีต่างๆ มาใช้กับประเทศไทยโดยไม่รอมชอม และพิจารณาถึงความแตกต่างในด้านต่างๆ ให้รอบคอบ ในที่สุด ก็มักจะประสบความล้มเหลวหรือไม่บังเกิดผลดีต่างๆ เต็มที่

(7) หลัก "การทำให้ง่าย" (Simplicity) คือ การวางแผน ออกแบบ ค้นหาวิธีการดำเนินงานที่มีลักษณะเรียบง่าย ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อน ทั้งในด้านแนวความคิดและด้านเทคนิควิชาการ มีความสมเหตุสมผล ทำได้รวดเร็ว สามารถแก้ปัญหาให้กับประชาชนได้จริง และสามารถนำไปเป็นตัวอย่างได้

(8) หลักแห่งความเป็นจริงตามธรรมชาติ คือ แนวทางการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหา และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาวะที่ไม่ปกติ ให้เข้าสู่ระบบปกติ โดยใช้ธรรมชาติเป็นตัวดำเนินการ เช่น การนำน้ำดีขับไล่น้ำเสียหรือเจือจางน้ำเสีย ให้กลับเป็นน้ำดีตามจังหวะการขึ้นลงตามธรรมชาติของน้ำ การบำบัดน้ำเสียโดยใช้ผักตบชวา ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติให้ดูดซับสิ่งสกปรกปนเปื้อนในน้ำ การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ในโครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นต้น

(9) หลักการ "ขาดทุน" คือ "กำไร" (Our loss is our gain) คือ การดำเนินงานที่ยึดผลสำเร็จแห่งความ "คุ้มค่า" มากกว่า "คุ้มทุน" คำนึงถึงผลประโยชน์ของคนส่วนรวมมากกว่าผลสำเร็จที่เป็นตัวเลขอันเป็นผลประโยชน์ของกลุ่มคนส่วนน้อย เล็งเห็นผลที่ได้จากการลงทุนเพื่อประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่ อันได้แก่ ความอยู่ดีมีสุขของประชาชนซึ่งตีค่าเป็นตัวเงินไม่ได้ ซึ่งถ้าหากพิจารณาตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้ว อาจจะถือว่าเป็นการลงทุนที่ขาดทุนหรือไม่คุ้มทุน

คัดลอกบางส่วนจาก พอเพียงภิวัตน์ : พิพัฒน์ ยอดพฤติการ กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 05 ธันวาคม พ.ศ. 2549
เพียงอยากทำอะไรให้ในหลวงบ้าง ทุกวันนี้คิดเสมอทำดีอย่างน้อยวันล่ะครั้งให้ท่าน ยอมให้รถคันที่มาเบียดเราไปก่อน แยกขยะที่บ้าน ปิดไฟดวงที่ไม่จำเป็น อาจจะดูเล็กน้อย แต่อย่างน้อยผมก็ได้เริ่มกระทำแล้ว


ทุกวันนี้ผมได้ยินเพลงนี้ที่ไรขนลุกทุกที

เพลง คิงส์ออฟคิงส์ (ราชันย์ผู้ยิ่งใหญ่)


เหนือบัลลังค์ราชันย์ ใต้ไตรรงค์ธงไทย โลกระบือลือไกล
กษัตราผู้เปี่ยมล้นพระทัยฯ คู่ครองแผ่นดินนี้....

พระฯทรงคอยปัดเป่า ทุกข์และความกังวล หลอมดวงใจปวงชน
ประหนึ่งดั่งพระนามภูมิพลฯ มหาราช เกริกไกร

โลกต่างชื่นชมพระบารมีฯ ลำศักดิ์เลิศศรีไปแดนไกล
สูงส่งทัดเทียมคู่ไทย สะดุดดีไว้ หนึ่งเดียวนี้...
คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์
ปกครองไพร่ฟ้าด้วยความรัก ด้วยธรรม โดยแท้จริง
คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์
ราชันย์ผู้ยิ่งใหญ่ ก้องไปทั้งฟ้าดิน
พระฯทรงครองราชย์ฯในทศพิธราชธรรม พระฯชี้นำให้มีความรักและสามัคคี
คิงส์ออฟคิงส์

พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อย ทุกข์พระวรกาย เพื่อปวงชนชาวไทย
ได้อยู่บนผืนแผ่นดินร่มเย็น ยั่งยืนสืบไป

โลกต่างชื่นชมพระบารมีฯ ลำศักดิ์เลิศศรีไปแดนไกล
สูงส่งทัดเทียมคู่ไทย สะดุดดีไว้ หนึ่งเดียวนี้...
คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์
ปกครองไพร่ฟ้าด้วยความรัก ด้วยธรรม โดยแท้จริง
คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์
ราชันย์ผู้ยิ่งใหญ่ ก้องไปทั้งฟ้าดิน
พระฯทรงครองราชย์ฯในทศพิธราชธรรม พระฯชี้นำให้มีความรักและสามัคคี

คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์
คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พระราชวังบางปะอิน


ความเป็นมา
เป็นพระราชวังโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เนื่องจากเป็นที่ประสูติของพระองค์ ใช้เป็นสถานที่ที่ทรงใช้ประทับแรม ของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ด้วยเป็นพระราชวังใกล้พระนครนั่นเอง เมื่อครั้งเสียกรุงแก่พม่าครั้งที่สอง พระราชวังบางปะอินถูกปล่อยให้รกร้างมาระยะหนึ่ง พระราชวังบางปะอินกลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้งเมื่อสุนทรภู่ ซึ่งได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชไปนมัสการ พระพุทธบาทสระบุรี ได้ประพันธ์ถึงพระราชวังบางปะอินไว้ในนิราศพระบาท
รำพึงพายตามสายกระแสเชี่ยว ยิ่งแสนเปลี่ยวเปล่าในฤทัยถวิล
สักครู่หนึ่งก็มาถึงบางเกาะอิน กระแสสินธุ์สายชลเป็นวนวัง
อันเท็จจริงสิ่งนี้ไม่รู้แน่ ได้ยินแต่ยุบลในหนหลัง
ว่าที่เกาะบางอออินเป็นถิ่นวัง กษัตริย์ครั้งครองกรุงศรีอยุธยา
จนกระทั่ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เริ่มการบูรณะพระราชวังขึ้น และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้บูรณะครั้งใหญ่ โดยสร้างพระที่นั่ง พระตำหนัก และตำหนักต่าง ๆ ขึ้นมากมายเพื่อใช้เป็นที่ประทับ รับรองพระราชอาคันตุกะ และพระราชทานเลี้ยงในโอกาสต่าง ๆ ในปัจจุบัน พระราชวังบางปะอินอยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง และยังใช้เป็นสถานที่แปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้าย
ที่ตั้ง-การเดินทางไปถึง
ตั้งอยู่ในอำเภอบางปะอิน ซึ่งอยู่ห่างจากเกาะเมืองมาทางทิศใต้ประมาณ 18 กม. โดยใช้เส้นทางที่แยกจากเจดีย์สามปลื้มผ่านวัดใหญ่ชัยมงคล วัดพนัญเชิง ไปยังบางปะอิน หากมาจากกรุงเทพฯ ตามถนนพหลโยธิน จะมีทางแยกซ้ายบริเวณกม.ที่35 ไปพระราชวังบางปะอินเป็นระยะทางอีก 6 กม. นอกจากนี้ยังมีบริการรถโดยสารจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ และรถไฟจากสถานีรถไฟหัวลำโพงมายังอำเภอบางปะอินทุกวัน พระราชวังบางปะอิน เปิดให้เข้าชมทุกวัน (ไม่เว้นวันหยูดราชการ) ตั้งแต่เวลา 08.30-15.30 น.อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก-นิสิต นักศึกษา (ในเครื่องแบบ)-พระภิกษุ สามเณร 20 บาท นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ 50 บาท ผู้ที่ประสงค์จะเข้าชมโปรดแต่งกายสุภาพ รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ สำนักพระราชวังบางปะอิน โทร. (035) 261044, 261549
สถานที่น่าสนใจ
พระที่นั่งไอศวรรยทิพยอาสน์

เท่าที่ค้นๆดูสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา แล้วต่อมาในหลวงรัชกาลที่ 5เสด็จพระราชดำเนินผ่านพระราชวังบางปะอิน เมื่อครั้งเสด็จฯ ประพาสพระนครศรีอยุธยา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระที่นั่งขึ้นใหม่ โดยใช้เครื่องไม้สร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่ ณ ตำแหน่งเดิม รูปแบบสถาปัตยกรรมของพระที่นั่งกลางน้ำหลัง นี้ จำลองแบบมาจากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท ตั้งอยู่นอกกำแพงแก้วใกล้พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง (เป็นพลับพลาที่ใช้ในการส่งเสด็จและใช้ในการโสกันต์) ซึ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ ถือว่ามีความงามเป็นเลิศทั้งด้านทรวดทรงและรายละเอียดการตกแต่งทาง สถาปัตยกรรม กล่าวคือมีลักษณะเป็นพลับพลาโถงแบบปราสาทจตุรมุขลดชั้น หลังคาเป็นเครื่องยอดทรงมณฑปจอมแห และ ต่อมาอีกรัชกาลที่ 6 ทรงให้บูรณปฏิสังขรณ์พระที่นั่งอีกครั้ง โดยได้เปลี่ยนพื้นและเสาเป็นแบบคอนกรีต แทนเครื่องไม้ซึ่งผุง่ายเมื่ออยู่ในน้ำ พร้อมทั้งให้สร้างพระบรมรูปหล่อสัมฤทธิ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวขนาดเท่าพระองค์จริงในฉลองพระองค์เต็มยศจอมพลทหารบกมาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์จนถึงปัจจุบัน
พระที่นั่งวโรภาษพิมาน สถาปัตยกรรมแบบยุโรปทาสีส้มแซมเขียวหลังงาม องค์หนึ่ง จัดเป็นพระที่นั่งประธานท่ามหมู่พระที่นั่งทั้งหมดในพระราชวังบางปะอิน เป็นผลงานการออกแบบและก่อสร้างของนายช่างอิตาเลียนนาม ซินยอร์กราซี (มิสเตอร์กราซี) ซึ่งดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๔๑๙ พร้อม ๆ กับพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย์อาสน์
ซินยอร์กราซีเลือกเอาศิลปะนีโอคลาสสิก ในรูปแบบนีโอเรอเนซองซ์ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอยู่ทั่วโลกในขณะนั้น มาใช้กับพระที่นั่งองค์นี้ หัวใจของสถาปัตยกรรมสมัยนีโอคลาสสิกก็คือ การหวนกลับไปเลียนแบบความรุ่งโรจน์แห่งอดีตในยุคคลาสสิก "กรีก-โรมัน" ดังปรากฏที่มุขด้านหน้าของพระที่นั่งได้ทำเลียนแบบวิหารของกรีกสมัยเฮเลนนิ สติก (หรือกรีกตอนปลาย) นั่นคือการใช้หัวเสาแบบโยนิก (ตกแต่งด้วยวงโค้งก้านขด) และหัวเสาแบบคอรินเธียน (เป็นรูปใบอะคันธัสซ้อนกันหลายชั้น) รองรับหน้าบันรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ในขณะเดียวกันก็ได้มีการนำเอาศิลปะเรอเนซองซ์สกุลช่างฝรั่งเศส มาผสมผสานด้วยในส่วนของหอคอยขนาดย่อมที่มีหลังคาทรงพีระมิดตัด ปลายยอดเป็นมงกุฎซึ่งประดับอยู่ตามมุมอาคาร
ทั้งนี้ซินยอร์กราซีคงเห็นว่า ลำพังเพียงแค่ชาลามุขแบบนีโอคลาสสิกกรีกนั้น ยังดูไม่หรูหราพอสำหรับสถานภาพของ "ท้องพระโรง" พระที่นั่งวโรภาษพิมานมีความสูงเพียงชั้นเดียว ลักษณะเป็นห้องโถงแบบใช้รับรองแขก ปัจจุบันยังคงใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ในคราวเสด็จแปรพระราชฐาน สำหรับการตกแต่งภายในของพระที่นั่งวโรภาษพิมานนั้น เป็นผลงานการออกแบบของหม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย ภายในมีสิ่งที่น่าดูน่าชมคือ อาวุธโบราณ ตุ๊กตาหินสลักด้วยงานฝีมือประณีต ภาพเขียนสีน้ำอิงพระราชพงศาวดาร ภาพเขียนจากวรรณคดีไทยเรื่อง อิเหนา พระอภัยมณี สังข์ทอง จันทโครพ และสิ่งประดับอันล้ำค่ายิ่ง ได้แก่ แจกันสลับสีเขียนลายทองขนาดใหญ่ฝีมือช่างชิ้นเอกอุของญี่ปุ่น เกาหลี ซึ่งล้วนเป็นของบรรณาการแด่องค์พระพุทธเจ้าหลวงทั้งสิ้น



พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร เป็นพระที่นั่งเรือนไม้หมู่ทั้งชั้นบนและชั้นล่างมีเฉลียงตามแบบชาเลตของสวิส ทาสีเขียวอ่อนแก่สลับกันด้วยงานช่างที่ประณีต สิ่งประดับตกแต่งภายใน ประกอบด้วย เครื่องไม้มะฮอกกานีจัดสลับลายทองทับที่สั่งจากยุโรปทั้งสิ้น นอกนั้นเป็นสิ่งของหายากในประเทศ อันเป็นเครื่องราชบรรณาการจากหัวเมืองต่างๆ ทั่วราชอาณาเขตรอบๆ มีสวนดอกไม้สวยงาม เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรได้เกิดเพลิงไหม้ ขณะที่มีการซ่อมรักษาเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ทำให้พระที่นั่งถูกทำลายไปกับกอง เพลิงหมดสิ้นทั้งองค์คงเหลือแต่หอน้ำ ปัจจุบันได้สร้างขึ้นใหม่ตามแบบเดิมทุกประการ แต่เปลี่ยนวัสดุจากไม้เป็นอาคารคอนกรีตแทน


เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ ปัจจุบันพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จทอดพระเนตรพระที่นั่งองค์ใหม่นี้ ได้ทรงมีแนวพระราชดำริว่า พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรน่าจะใช้เป็นสถานที่รับรอง พระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการปรับปรุงพระที่นั่งขึ้นใหม่ให้งดงามและโอ่โถงขึ้น โดยหม่อมหลวงท้าวเทวา เทวกุล ได้เป็นสถาปนิกออกแบบต่อเติมอาคารหลังใหม่เมื่อปี ๒๕๓๖ สร้างแล้วเสร็จในปี ๒๕๓๘ ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบเรอเนซองซ์ของฝรั่งเศส
หอวิฑูรทัศนา ตั้งอยู่ระหว่างพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรและพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นภายในพระราชวังบางปะอิน แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2424 พร้อมทั้งได้พระราชทานนามหอนี้ว่า "หอวิฑูรทัศนา"


ใช้สำหรับเป็นที่เสด็จขึ้นไปทอดพระเนตรภูมิประเทศโดยรอบของพระราชวัง กล่าวกันว่าเมื่อแรกสร้างนั้น ยังมองเห็นช้างป่า เป็นโขลง ๆ เดินอยู่ตามชายทุ่ง หรือถ้าขึ้นไปดูในช่วงฤดูทำนาก็จะเห็นความงามของทุ่งนาในช่วงต่าง ๆ จนมีคำกล่าวว่า "ดูนาที่ไหนเล่า ไม่เท่าที่บางปะอิน"
หอวิฑูรทัศนามีความสูง 30 เมตร ลักษณะเป็นหอคอยสูง 3 ชั้น 12 เหลี่ยม ยอดหอคอยคลุมด้วยหลังคารูปครึ่งวงกลม มีสถาปัตยกรรมผสมผสานของยุโรป ตัวอาคารทาสีแดงสลับเหลือง ภายในมีบันไดเวียนขึ้นสู่ชั้นบน 112 ขั้น โดยแบ่งเป็น จากพื้นชั่นล่างขึ้นไปยังชั้นที่ 1 จำนวน 18 ขั้น จากชั้นที่ 1 ขึ้นไปยังชั้นที่ 2 จำนวน 55 ขั้น และจากชั้นที่ 2 ขึ้นไปยังชั้นที่ 3 จำนวน 39 ขั้น

เพื่อจรรโลงความงามของสถาปัตยกรรม

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สร้างบุญบารมี




พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัส วิธีสร้างบุญบารมี 10 อย่าง

เมื่อชนเหล่าใดปฏิบัติตามแล้วย่อมได้บุญ กุศล ดั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสใว้ดีแล้ว

เพื่อ ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น การทำบุญ ในปัจจุบันมักเข้าใจเพียงว่าตักบาตร ถวายสังฆทาน ถวายเงินให้วัด บริจาคทาน นั่นเพราะว่าคนส่วนใหญ่ในปัจจุบันไปยึดติดกับวัตถุมากว่าจิตใจ บุญจึงเกิดจากวัต...ถุมากกว่าจิตใจ โดยที่จริงๆ แล้ว บุญใหญ่ที่แท้จริงนั้นเกิดได้ด้วยตัวเอง

ผลที่จะทำให้เกิดบุญ 10 อย่าง มีดั้งนี้

1.การให้ทานด้วยวัตถุ หมายถึง การใส่บาตร การบริจาค ต่างๆ ในรูปแบบของวัตถุอื่นๆ ฯลฯ

2.การักษาศีล การประพฤติตัวอยู่ในความดี คือการไม่ประพฤติผิดศิล 5 หรือ ศิล 8 เป็นต้น

3.การอบรม จิตใจ คือการครองสติ ของตน ให้รู้จัก ปาบ บุญ คุณ โทษ ต่างๆ การมี หิริโอตัปปะ คือ การละอายต่อการทำบาปและทำชั่วทั้งปวง นั่นคือการทำตัวเราให้เป็นมนุษย์เยี่ยงเทวดา เพราะผู้ที่เป็นเทวดาคือ ผู้ที่มี หิริโอตัปปะ นั่นเอง (นี่ไงเป็นเทวดาไม่ต้องรอตาย เป็นมนุษย์ก็เป็นเทวดาได้)

4.อปจายนมัย การอ่อนน้อมถ่อมตน อันนี้หมายถึงการเคารพผู้อื่น การเคารพในที่นี้หมายถึงการเคารพความเป็นมนุษย์และสัตว์ของผู้อื่น ไม่เบียดเบียน ไม่ดูถูก ไม่เห็นว่ามีใครด้อยกว่า ต่ำกว่า เพราะมนุษย์ผู้ประเสริฐนั้นย่อมไม่ทำให้ผู้อื่นเดือนร้อนแม้แต่ตัวเอง

5.เว ยาวัจมัย การช่วยเหลือผู้อื่น หมายถึง การมีเมตตากรุณา รู้จักอภัย รู้จักให้ รู้จักแบ่งปั่น ด้วยความบริสุทธิ์จากใจ โดยไม่หวังผล

6.ปัตติทาน มัย การแผ่ส่วนบุญ หมายถึงเมื่อเรามีความสุขแล้ว เราก้ควรแบ่งความสุขให้ผู้อื่นได้สุขด้วย เช่น เราตักบาตร เราได้บุญจากการตักบาตร เราก็ควรกรวดน้ำแผ่บุญนั้นไปให้ผู้อื่นด้วย

7.ปัต ตานุโมทนามัย การอนุโมทนาบุญ หมายถึง การเห็นคนอื่นมีความสุข เราก็ยินดีด้วยในความสุขนั้นๆ เช่น เห็นคนรักกัน เราก็แอบอมยิ้มเป็นสุขกับรักของผู้อื่นเป็นต้น นั่นได้บุญ

8.ธัม มัสสวนมัย การฟังธรรม หมายถึงการฟังสิ่งๆ ดีๆ ไม่ใช่การฟังเทศน์อย่างเดียว การฟังธรรม หมายถึงการฟังความดีอันเป็นธรรมชาติ ธรรมมะคือ ธรรมชาติ การฟังครู ฟังพ่อแม่ ฟังสิ่งที่ดีๆ ต่างๆ แล้วทำได้ ทำดี นั่นได้บุญแล้ว

9.ธัม มเทสนามัย การแสดงธรรม คือการแสดงความดีต่างๆ การแสดงข้อคิด แสดงความรู้ การเผยแพร่ความรู้ ที่ต้นรู้ให้ผู้อื่น ไม่ว่าจะในรูปแบบใด เสียง รูปภาพ สิ่งพิมพ์ การอธิบาย เพื่อให้ผู้อื่นสามารถนำไปปฏิบัติต่อได้ นั่นได้บุญแล้ว

10.ทิฏฐุชุกรรม การทำความเห็นให้ตรง คือ การเห็นตรงต่อความดี ความถูกต้องด้วยสติ และยึดถือปฏิบัติความดีนั้นๆ อย่างมีสติ ไม่ใช่เชื่อถือเพราะคนเชื่อเยอะ ไม่ใช่ยึดถือเพราะมีผู้ปฏิบัติเยอะ ให้เรารู้จักคิดและไตร่ตรองเอง ว่าสิ่งใดดี สิ่งใดเหมาะสมพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้เชื่อสิ่งใดในทันที


จงอย่าเชื่อหากไม่เห็น
จงอย่าเชื่อตามที่เป็นอยากไม่ทำ
จงอย่าเชื่อตามที่ทำหากไม่เป็น
จงเชื่ออย่างมีสติ
จงทำตามอย่างมีสติ และ
จงทำตัวให้มีสติ

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

กรรม

มารู้จักกรรม



กรรม คือ อะไร? กรรม คือ การกระทำ การกระทำนั้นมี ๒ อย่าง

คือ.........

๑. การกระทำกรรมดี

๒. การกระทำกรรมชั่ว

การกระทำกรรมดี เป็นการกระทำที่เป็นบุญหรือเป็นกุศล

การกระทำกรรมชั่ว เป็นการกระทำที่เป็นบาปหรือเป็นอกุศล

ถ้าหากบุญกุศลส่งผลเมื่อไรเราก็จะพบกับความสุข ความเจริญ

รุ่งเรือง ความสำเร็จ ความสมหวัง ความคล่องตัว มีกำไร ป่วยอยู่ก็จะ

หายป่วย ที่หน่ายอยู่ก็จะกลับมารัก ฯลฯ ......

ถ้าหากบาปอกุศลส่งผลเมื่อไรเราก็จะพบกับความทุกข์ ความ

เสื่อม ความล้มเหลว ความผิดหวัง การติดขัด ขาดทุน ป่วยอยู่ก็จะ

ตาย ที่รักอยู่ก็แหนงหน่าย ฯลฯ ......

ฉะนั้นคำว่า " กรรม " หมายถึงความดีและความไม่ดีด้วยเพราะกรรม

คือการกระทำ ส่วนการส่งผลของกรรมนั้น มีทั้งกรรมหนักและกรรมเบา

กรรมจะส่งผลหนักหรือจะส่งผลเบานั้นขึ้นอยู่กับว่า การประกอบกรรมหรือ

ทำกรรมนั้นมีเจตนาทำ(ตั้งใจหรือจงใจทำ) หรือ ไม่มีเจตนาทำ(ไม่ตั้งใจ

ทำ) ถ้าหากเราตั้งใจทำความดีผลของความดีก็จะส่งผลมาก ตรงกันข้าม

ถ้าหากเราไม่ได้ตั้งใจที่จะทำความดี ผลของความดีก็จะส่งผลน้อยหรือไม่

ส่งผลเลย ถ้าเราตั้งใจหรือมีเจตนาที่จะประกอบกรรมชั่วหรือทำความชั่ว

ผลของการกระทำความชั่วของเราก็จะส่งผลให้กับเรามาก แต่ถ้าหากเราไม่

มีเจตนาหรือไม่มีความตั้งใจที่จะทำความไม่ดีหรือความชั่ว เราก็จะได้รับผล

ของความชั่วหรือความไม่ดีน้อยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการกระทำความดี (บุญ

กุศล)หรือการกระทำความไม่ดี(บาปอกุศล)ของเรามาจากการกระทำของเรา

ได้ ๓ ทางคือ ......

๑. การกระทำทางกาย

๒. การกระทำทางวาจา

๓. การกระทำทางใจ



การกระทำทางกาย หมายถึง การใช้ร่างกายทำกรรมหรือประกอบ

กรรมหรือลงมือทำนั่นเอง

การกระทำทางวาจา หมายถึง การใช้วาจา คำพูด ทำกรรม

หรือประกอบกรรม

การกระทำทางใจ หมายถึง เกิดจากความนึกคิดหรือการใช้ความ

นึกคิดทำกรรมหรือประกอบกรรม



ผลของกรรมจะเกิดก็ต่อเมื่อ การกระทำกรรมหรือประกอบกรรมนั้นๆ

ของตัวเราและหรือคนอื่นๆ ทำให้ตัวของเราและหรือคนอื่นเดือดร้อน ไม่

สบายใจและเป็นทุกข์ จุดเริ่มต้นของการประกอบกรรมหรือการทำกรรมนั้น

จะเริ่มจากทางใจหรือทางความนึกคิดของเราก่อน พอคิดบ่อยๆเข้า ก็จะ

ส่งผลไปให้วาจาทำกรรมหรือประกอบกรรมขึ้น พอพูดบ่อยๆเข้าทีนี้ก็ใช้กาย

หรือร่างกายของเราทำกรรมหรือลงมือทำเลย

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ผู้กลับตัวกลับใจ



หากเราเคยทำผิดพลาดมาในอดีต..
มีสติ..มีความรู้สึกตัว..
พยายามปรับปรุงแก้ไขตนเอง..
เราก็ได้ชื่อว่า..เป็นผู้กลับตัวกลับใจ..ใฝ่ดีได้..

แต่หากละเลย..ขาดสติ..
ปล่อยจิต..ปล่อยใจ..
พาลท่าเสียที..ทำความชั่ว..
แล้วไม่ปรับปรุงแก้ไขตนเอง..
ปล่อยเลย..ตามเลย..
เราก็จะได้ชื่อว่า..ดีกลับใจ..ใจคิดชั่วไปก็ได้..

ความดี..ที่เราทำ..
แม้ไม่มีใครรู้..ไม่มีใครเห็น..
ก็เปรียบเหมือนกับการเขียนความดีไว้..ที่หัวใจ..
อาจไม่มีใคร..ไม่มีใครเห็น..
แต่เราก็รับรู้และสัมผัสได้..
ด้วยหัวใจของผู้กระทำดี..นั่นเอง..

ความชั่ว..ที่เราทำ..
แม้ไม่มีใครรู้..ไม่มีใครเห็น..
ก็เปรียบเหมือนกับการเขียนความชั่วไว้..ในความมืด..
ที่ไม่มีใครรู้..ไม่มีใครเห็น..
แต่ก็สามารถรับรู้และสัมผัสได้..
ด้วยหัวใจของผู้กระทำชั่ว..เช่นกัน..

อุปมาเหมือนกับ..
การที่เรานั่งเขียนความดี - ความชั่วไว้..
ในท่ามกลางแห่งความมืดของจิตใจ..
แม้ไม่มีใครรู้..ไม่มีใครเห็น..
ไม่ว่าเราจะกระทำสิ่งใด ๆ..
จิตใจของผู้กระทำนั้น..ย่อมรู้ดีว่า..
เราเขียนความดีไว้ที่หัวใจ..แห่งความสว่างไสว..
ที่งดงามด้วยคุณธรรม..

หรือเขียนความชั่วไว้ที่หัวใจ..
แห่งความมืดมน..ที่ปราศจากแสงสว่างแห่งคุณธรรม..

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Faith




Faith is one key component for cooking hope or aspiration for success. Or to a reality. If anyone believed to be the chosen. He would lose the chance to see most of the destination.


However, not all of us that people will choose the correct way to lose out, so before deciding on any route. We understand the wise see that the path is the path that people like us "worthy" to walk or not. If we determine that. To walk the path. A line that will destroy our lives do not choose to walk all ... Faith is the wrong way to create havoc with our own lives.

However is believed to bring the power of life for the move. Belief in your head are "not the end of faith with her chosen."
This word has been listening long ago. Session also focused on the heart in the selected address. But over time beyond. Many things are slow to melt.
Today, but still looking. Fair view of the believers as follows. Faith is the great treasure of Buddhism.


Faith 4.

Faith means belief refers to beliefs that include, reasons. Using a wise mind Punjab Drug round crown. A belief that Buddhist should have the correct fundamental belief is 4 things.

1. Believe in karma refers to beliefs about karmic law. Medicine is realized when doing deliberately. (Deliberately made both know) there is both good and evil deeds made. There is a cause of good. Detrimental to the continuance.

2. Believe in the results of Medicine believes that the meaning of karma is real. Medicine is made should take effect. And the results have good reason before the result of good deeds. The evil caused by evil deeds.

3. Who believes in karma refers to believe that creatures have their own deeds. Responsible for their deeds have done. Who will have good returns. Who Taker evil. Will work for a reward.

4. Believe in the Buddha's enlightenment refers to beliefs in favor of the enlightenment the Buddha Dharma. And well-defined, such as teaching people to ignore the evil. Keep good. And training the mind is calm pure.

How inoculated believe.


"The approval of the self."

Faith is a mental condition that can induce or created by a certain order or go out frequently to mental sense. Base on principal. "The approval of the self."

Faith is a mental condition which maybe of culture as satisfaction.

Order with confidence to turn repeatedly off your mental approach is only possible to discover the culture emotions certainly believe.

Stars of Faith ... light ....

Little light shinning stars Skaw.
Outstanding sparkling sky look very far distance.
Emit light as bright rainbow in the heart of gold.
Look like coming from the patient sufferings.
Blue storm force trap threats.
Month times the earth dark secret.
Stars still shine above faith.
Alarm Alarm heart failure who are not.
*** We ridicule. Tine adversity live in poverty.
People continue to live out the challenge.
Although dark blue sheet set fire month dissolved.
Stars also believe Eigi ghost blue clay.
Stars the spirit and the dawn sky rail.

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ศรัทธา




ศรัทธา เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญสำหรับการปรุงความหวังหรือความใฝ่ฝันให้สำเร็จ หรือให้เป็นจริงขึ้นมา ถ้าใครหมดศรัทธากับทางที่เลือก เขาย่อมหมดโอกาสที่จะได้เห็นที่สุดแห่งปลายทางนั้น


อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่า คนเราทุกคนจะเลือกหนทางถูกต้องไปเสียหมด ดังนั้น ก่อนตัดสินใจเลือกเส้นทางใด ขอให้ใช้ปัญญาไตร่ตรอง พิจารณาดูว่า เส้นทางนั้น เป็นเส้นทางที่คนอย่างเรา “สมควร” ที่จะเดินไปหรือไม่ ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่า เส้นทางที่จะเดินนั้น เป็นเส้นที่จะทำลายชีวิตของเราจงอย่าเลือกเดินไปเลย... ศรัทธาผิดทางคือการสร้างความหายนะให้กับชีวิตของเราเอง

แต่ศรัทธายังจะนำมาเป็นพลังแห่งชีวิตสำหรับให้ก้าวไป ในความเชื่อของท่านที่มุ่งไว้ " อย่าสิ้นศรัทธากับทางที่เธอเลือก"
คำนี้เคยได้ฟังเมื่อนานมาแล้ว สมัยที่ใจยังมุ่งที่จะไปในทางที่เลือกอยู่ แต่เมื่อเวลาผ่านๆไป หลายๆสิ่งก็ค่อยๆเลือนหายไป
วันนี้คงได้แต่มองหา ในทางธรรมมองศรัทธาได้ดังนี้ ศรัทธาคือขุมทรัพย์อันยิ่งใหญ่ในพุทธศาสนา


ศรัทธา 4

ศรัทธา แปลว่า ความเชื่อ หมายถึง ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล โดยใช้สติปัญยาไตร่ตรองอย่างรอบครอบ เป็นความเชื่อที่ถูกต้องพุทธศาสนิกชนพึงมีความเชื่อพื้นฐาน 4 ประการ คือ

1. เชื่อในเรื่องกรรม หมายถึง เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม กรรมมีอยู่จริง คือ เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา (จงใจทำทั้งที่รู้) ย่อมเป็นกรรมทั้งความดีความชั่วที่ทำขึ้น ย่อมเป็นเหตุให้เกิดผลดี ผลร้ายสืบเนื่องต่อไป

2. เชื่อในผลของกรรม หมายถึง เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือกรรมที่ทำแล้วต้องมีผล และผลนั้นต้องมีเหตุมาก่อนผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว

3. เชื่อในผู้ที่กรรม หมายถึง เชื่อว่า สัตว์โลกมีกรรมของตน ต้องรับผิดชอบกรรมที่ตนได้ทำไว้ ผู้ที่ทำความดีจะได้ผลตอบแทน ผู้ที่ทำกรรมชั่ว ก็จะได้ผลชั่วตอบแทน

4. เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า หมายถึง เชื่อในพระคุณของพระพุทธเจ้าธรรมที่ตรัสรู้ และบัญญัติไว้ดีแล้ว เช่น สอนให้คนละเว้นการทำชั่ว หมั่นทำความดี และฝึกจิตใจให้มีความสงบบริสุทธิ์

วิธีเพาะศรัทธา


"ความเห็นชอบของตนเอง"

ศรัทธา เป็นภาวะจิตซึ่งสามารถชักจูง หรือ สร้างขึ้น ด้วยการสั่งอย่างมั่นใจ หรือ ย่ำบ่อยๆแก่จิตนอกสำนึก โดยอาศัยหลักการ "ความเห็นชอบของตนเอง"

ศรัทธา เป็น ภาวะจิตอย่างหนึ่งซึ่งท่านอาจจะเพาะได้ตามความพอใจ

การสั่งซ้ำๆอย่างมั่นใจแก่จิตนอกสำนึกของท่านเป็นวิธีการอย่างเดียวเท่านั้น เท่าที่ค้นพบ ที่สามารถเพาะอารมณ์ศรัทธาอย่างแน่นอน
...แสงดาวแห่งศรัทธา....

พร่างพรายแสง ดวงดาวน้อยสกาว
ส่องฟากฟ้า เด่นพราวไกลแสนไกล
ดั่งโคมทอง ส่องเรืองรุ้งในหทัย
เหมือนธงชัย ส่องนำจากห้วงทุกข์ทน
พายุฟ้า ครืนข่ม คุกคาม
เดือนลับยามแผ่นดินมืดมน
ดาวศรัทธายังส่องแสงเบื้องบน
ปลุกหัวใจปลุกคนอยู่มิวาย
***ขอเยาะเย้ย ทุกข์ยากขวากหนามลำเค็ญ
คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย
แม้ผืนฟ้ามืดดับเดือนลับละลาย
ดาวยังพรายศรัทธาเย้ยฟ้าดิน
ดาวยังพรายอยู่จนฟ้ารุ่งราง