ชีวิตมีหลายสิ่งที่น่าสนใจ
love is the flower for which love is the honey : victor hugo
วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
พ่อหลวง
พระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2548 ว่า
"โครงการพระราชดำรินี่ เปิดเผยให้ทุกคนได้ทั้งนั้น แล้วก็ถ้าปฏิบัติตามโครงการพระราชดำริ ทำอย่างเศรษฐกิจพอเพียง ... ถ้าทุกคนเลื่อมใสต้องพอเพียงก็ปฏิบัติเถิด เพราะถ้าปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียง มันใช้ได้จริงๆ ไปได้จริงๆ แต่ว่าอาจจะไม่ค่อยสบาย ... เศรษฐกิจพอเพียง คือทำให้พอเพียง ถ้าไม่พอเพียงไปไม่ได้ แต่ถ้าพอเพียงสามารถนำพาประเทศไปได้ดี"
หลักการทรงงาน 9 ประการ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงใช้ในการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตลอดระยะเวลา 60 ปี ที่พสกนิกรควรจะได้น้อมมาเป็นหลักการในการปฏิบัติตน เป็นกรอบความคิด สำหรับใช้ในการบริหารจัดการองค์การ และเป็นหลักในการพัฒนาประเทศ เพื่อความอยู่ดีมีสุขโดยถ้วนหน้า ได้แก่
(1) หลักการ "พอเพียง" และ "พออยู่-พอกิน" คือ การสร้างความ "พออยู่" "พอกิน" ให้กับคนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้ได้ส่วนก่อนเป็นลำดับแรก ความ "พออยู่-พอกิน" เป็นรากสำคัญของชีวิตที่พอเพียงและเป็นพื้นฐานในการที่จะพัฒนาตนเอง ชุมชน และประเทศชาติในระยะต่อไป
(2) หลัก "การพึ่งตนเอง" คือ การมุ่งเน้นให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเอง สามารถมีอาหาร ที่อยู่อาศัย เพียงพอแก่อัตภาพและการดำรงชีพ โดยไม่ต้องตกเป็นเบี้ยล่างหรือพึ่งพาอาศัยผู้อื่น
(3) หลักการ "ระเบิดจากข้างใน" คือ การดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงความพร้อม และการมีส่วนริเริ่มดำเนินการโดยประชาชนในพื้นที่ มิใช่การริเริ่มจากภายนอก เช่น การสนับสนุนการประกอบอาชีพ โดยการใช้เทคโนโลยีชาวบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เรียบง่ายและมีราคาถูก ชาวบ้านสามารถเรียนรู้ได้เร็วและมีไว้ใช้เอง การสนับสนุนให้ประชาชนอยู่รวมกลุ่มกัน หรือร่วมในกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนของตนก่อน แล้วจึงค่อยขยายการพัฒนาออกมาสู่โลกภายนอก
(4) หลัก "ค่อยเป็นค่อยไป" ตามลำดับขั้นตอน คือ การดำเนินงานที่คำนึงถึงทุกปัจจัยและเงื่อนเวลา ให้มีความพอดี สมดุล รอบคอบ และสอดคล้องกับลักษณะของสังคมและภูมิสังคม มิใช่การดำเนินงานในลักษณะ "ก้าวกระโดด" หรือในแนวทางอนุรักษนิยมสุดโต่ง เช่น การไม่เร่งรัดนำความเจริญเข้าไปสู่ชุมชนในภูมิภาคที่ยังมิได้ทันตั้งตัว แต่ให้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อให้มีความสามารถในการรับแรงปะทะจากสถานการณ์ของโลกภายนอกได้
(5) หลักการ "รวมที่จุดเดียว" คือ การดำเนินงาน ที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาในรูปแบบของ "การพัฒนาแบบผสมผสาน" ที่ให้ผลเป็นการ "บริการรวมที่จุดเดียว" เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริหารงาน จากการที่ต่างคนต่างทำ มาสู่การประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปรากฏเป็นรูปธรรมชัดเจน ในโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในทุกภูมิภาคของประเทศ ที่เป็นศูนย์รวมของการศึกษาค้นคว้าทดลอง และปฏิบัติการพัฒนาในแขนงต่างๆ โดยยึดถือข้อเท็จจริง และปัญหาในแต่ละภูมิภาคที่แตกต่างกันเป็นหลัก
(6) หลัก "การไม่ติดตำรา" คือ การไม่นำเอาทฤษฎีหรือหลักวิชาการของผู้อื่นมาดำเนินการ โดยปราศจากการพิจารณาให้ถ่องแท้ ด้วยสติปัญญาว่า มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพชีวิต และความเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนไทย และสังคมไทยหรือไม่ นักวิชาการชั้นสูงที่ได้รับการศึกษามาจากตะวันตก มักจะนำแนวคิดและทฤษฎีต่างๆ มาใช้กับประเทศไทยโดยไม่รอมชอม และพิจารณาถึงความแตกต่างในด้านต่างๆ ให้รอบคอบ ในที่สุด ก็มักจะประสบความล้มเหลวหรือไม่บังเกิดผลดีต่างๆ เต็มที่
(7) หลัก "การทำให้ง่าย" (Simplicity) คือ การวางแผน ออกแบบ ค้นหาวิธีการดำเนินงานที่มีลักษณะเรียบง่าย ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อน ทั้งในด้านแนวความคิดและด้านเทคนิควิชาการ มีความสมเหตุสมผล ทำได้รวดเร็ว สามารถแก้ปัญหาให้กับประชาชนได้จริง และสามารถนำไปเป็นตัวอย่างได้
(8) หลักแห่งความเป็นจริงตามธรรมชาติ คือ แนวทางการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหา และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาวะที่ไม่ปกติ ให้เข้าสู่ระบบปกติ โดยใช้ธรรมชาติเป็นตัวดำเนินการ เช่น การนำน้ำดีขับไล่น้ำเสียหรือเจือจางน้ำเสีย ให้กลับเป็นน้ำดีตามจังหวะการขึ้นลงตามธรรมชาติของน้ำ การบำบัดน้ำเสียโดยใช้ผักตบชวา ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติให้ดูดซับสิ่งสกปรกปนเปื้อนในน้ำ การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ในโครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นต้น
(9) หลักการ "ขาดทุน" คือ "กำไร" (Our loss is our gain) คือ การดำเนินงานที่ยึดผลสำเร็จแห่งความ "คุ้มค่า" มากกว่า "คุ้มทุน" คำนึงถึงผลประโยชน์ของคนส่วนรวมมากกว่าผลสำเร็จที่เป็นตัวเลขอันเป็นผลประโยชน์ของกลุ่มคนส่วนน้อย เล็งเห็นผลที่ได้จากการลงทุนเพื่อประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่ อันได้แก่ ความอยู่ดีมีสุขของประชาชนซึ่งตีค่าเป็นตัวเงินไม่ได้ ซึ่งถ้าหากพิจารณาตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้ว อาจจะถือว่าเป็นการลงทุนที่ขาดทุนหรือไม่คุ้มทุน
คัดลอกบางส่วนจาก พอเพียงภิวัตน์ : พิพัฒน์ ยอดพฤติการ กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 05 ธันวาคม พ.ศ. 2549
เพียงอยากทำอะไรให้ในหลวงบ้าง ทุกวันนี้คิดเสมอทำดีอย่างน้อยวันล่ะครั้งให้ท่าน ยอมให้รถคันที่มาเบียดเราไปก่อน แยกขยะที่บ้าน ปิดไฟดวงที่ไม่จำเป็น อาจจะดูเล็กน้อย แต่อย่างน้อยผมก็ได้เริ่มกระทำแล้ว
ทุกวันนี้ผมได้ยินเพลงนี้ที่ไรขนลุกทุกที
เพลง คิงส์ออฟคิงส์ (ราชันย์ผู้ยิ่งใหญ่)
เหนือบัลลังค์ราชันย์ ใต้ไตรรงค์ธงไทย โลกระบือลือไกล
กษัตราผู้เปี่ยมล้นพระทัยฯ คู่ครองแผ่นดินนี้....
พระฯทรงคอยปัดเป่า ทุกข์และความกังวล หลอมดวงใจปวงชน
ประหนึ่งดั่งพระนามภูมิพลฯ มหาราช เกริกไกร
โลกต่างชื่นชมพระบารมีฯ ลำศักดิ์เลิศศรีไปแดนไกล
สูงส่งทัดเทียมคู่ไทย สะดุดดีไว้ หนึ่งเดียวนี้...
คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์
ปกครองไพร่ฟ้าด้วยความรัก ด้วยธรรม โดยแท้จริง
คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์
ราชันย์ผู้ยิ่งใหญ่ ก้องไปทั้งฟ้าดิน
พระฯทรงครองราชย์ฯในทศพิธราชธรรม พระฯชี้นำให้มีความรักและสามัคคี
คิงส์ออฟคิงส์
พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อย ทุกข์พระวรกาย เพื่อปวงชนชาวไทย
ได้อยู่บนผืนแผ่นดินร่มเย็น ยั่งยืนสืบไป
โลกต่างชื่นชมพระบารมีฯ ลำศักดิ์เลิศศรีไปแดนไกล
สูงส่งทัดเทียมคู่ไทย สะดุดดีไว้ หนึ่งเดียวนี้...
คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์
ปกครองไพร่ฟ้าด้วยความรัก ด้วยธรรม โดยแท้จริง
คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์
ราชันย์ผู้ยิ่งใหญ่ ก้องไปทั้งฟ้าดิน
พระฯทรงครองราชย์ฯในทศพิธราชธรรม พระฯชี้นำให้มีความรักและสามัคคี
คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์
คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
แสดงความเห็นให้รู้ว่าคุณมาชมกันหน่อยครับ