สำหรับท่านผู้ที่รักการออกแบบ และ มีจิตใจสร้างสรรค์ บวกกับอีกหนึ่งใจในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คงจะพอรู้จักสถาปนิกหนุ่มไฟแรงท่านนี้ ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต ซึ่ง I Like iT ขอนำมาแอบนิยมในความสามารถของท่านไว้ ณ ที่นี้
พ.ศ.2533: ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (Architectural Studies) University of Washington
ปริญญาตรี ด้านการออกแบบภายใน (Interior Design) University of Washington
ปริญญาตรี การจัดการโครงสร้าง (Construction Management) University of Washington
พ.ศ.2534: ปริญญาโท สถาปัตยกรรมศาสตร์ University of Washington / Rheinish – Westfalishe Technische Hochschule, Aachen
พ.ศ.2545: ปริญญาเอก สถาปัตยกรรม เทคโนโลยีการออกแบบ Massachusetts Institute of Technology(MIT)
GREEN DESIGN
ดร.สิงห์ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เป็นที่รู้จักกันดีกับผลงานออกแบบและสร้างสรรค์เฟอร์นิเจอร์และของแต่ง บ้านแบรนด์ Osisu ซึ่งล้วนทำมาจากวัสดุเหลือใช้ต่างๆ หรือจะเรียกง่ายๆ ว่า “ขยะ” นั่นเอง
ท่านว่า
“เริ่มต้นที่ทำเฟอร์นิเจอร์จากเศษวัสดุ เพราะเป็นสถาปนิกเลยได้เห็นเศษวัสดุจากงานก่อสร้าง อย่างเศษปูน เศษไม้ เศษเหล็ก ก็มาคิดว่าทำอย่างไรจะไม่ให้มีขยะออกไปจาก site งาน เพราะรู้สึกผิดที่เราทิ้งของดีๆพวกนี้ไป คือเศษวัสดุพวกนี้มันก็ยังเป็นของที่ไม่ได้เน่าเปื่อย เป็นของที่ยังดีๆ อยู่ เลยนำมาทำเป็นเก้าอี้ โต๊ะ เตียง เฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ๆ ทั้งหลาย”
ท่าน ยืนยันว่าไม่ได้นึกถึงเรื่องธุรกิจการค้า มากไปกว่าการหวังจะเผยแพร่แนวคิด ด้วยเหตุนี้แบรนด์ OSISU จึงพิสูจน์ตัว ด้วยการไม่เคยจดสิทธิบัตร เพราะไม่กลัวการลอกเลียนแบบ แต่กลับอยากให้ทุกผลิตภัณฑ์เป็นต้นแบบที่มีผู้นำไปพัฒนาต่อ
ทุกวันนี้ท่านได้เปิดวิชาเรียน Scrap Lab ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นวิชาการออกแบบเศษวัสดุ เปิดสอนทั้งนักศึกษาปริญญาตรีและโท รวมทั้งบุคคลภายนอก หรือผู้ประกอบการก็มาร่วม workshop ด้วยได้
ท่านบอกต่อว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา มนุษย์ทิ้งขยะแบบนี้กว่า 40 ล้านตันต่อปี ขยะบางชนิดต้องใช้เวลาเป็นพันๆ ปีกว่าจะย่อยสลายได้ บางชนิดยิ่งเผายิ่งสร้างมลพิษ ทุกอย่างกลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมไปหมด ดังนั้น ท่าน จึงเกิดความคิดว่า หากสามารถนำขยะพวกนี้กลับมาสร้างเป็นชิ้นงานที่มีประโยชน์ต่อการใช้สอยได้ อีกครั้งก็คงจะดีไม่น้อย
แรงบันดาลใจ
"การสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆมีหลายวิธีมากครับ บ่อยครั้งเราคิดไม่ออก ทุกคนจะรู้ว่าเวลาผมไปไหนจะมีสมุดโน๊ตติดตัวเสมอ วิธีของผมง่ายๆก็คือ ทุกอย่างที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเวลาไหน จะกี่โมงกี่ยาม มันจะถูกจดทันที พอถึงเวลาที่ผมคิดไม่ออก อาจจะตันเพราะแก่ ผมก็จะยังมีข้อมูลที่เซลล์สมองฉลาดๆคิดไว้ จดอยู่ในสมุดสเก็ตช์ตลอดเวลา คนอาจจะคิดว่าทำไมผมคิดได้ตลอดเวลา ที่จริงไม่ใช่ครับ พอคิดไม่ออกก็ไปเปิดดูในสมุดนี้ มันก็สิ่งที่สมองเราคิดมาก่อนแล้วทั้งนั้น นี่คือสิ่งที่ผมใช้ครับ"
แนวความคิดกับงานสถาปัตยกรรม
ท่านได้ให้แนวคิดไว้น่าสนใจดีครับ
"สถาปัตย์เป็นงานที่สนุกนะครับ เพราะมันต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์จริงๆ คำว่าศาสตร์นี่คงเข้าใจล่ะ คือใช้เลข วิศวกรรม แต่ศิลป์เนี่ยสิ ศิลป์ไม่ใช่ความสวยงามอย่างเดียวนะครับ ศิลป์หมายถึงศิลปะการพูดก็ได้ ศิลปะการนำเสนองาน ศิลปะการแต่งกาย ทุกอย่าง บางทีถ้าเราแต่งตัวดีมาก แต่ลูกค้าเราคือการเคหะฯ นั่นคือความไม่ฉลาดของสถาปนิกคนนั้นด้วยซ้ำ เหมือนเราไม่เข้าใจเค้า แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเรามีลูกค้าเป็น ยี่ห้อแอร์เมส หรือหลุยส์วิตตอง แล้วคุณใส่ขาสั้นลากรองเท้าแตะเข้าไปก็ไม่เหมาะแน่นอน ถ้าลูกค้าให้งบคุณมาห้าร้อยล้าน จัดปาร์ตี้แค่สามสี่วัน ในฐานะนักออกแบบ exhibition ออกแบบอาคารของเขา มันเป็นศิลปะตั้งแต่ตัวเรา ไปจนถึงการพูดของเรา ผลงานของเรา กระบวนการคิดทั้งระบบคือความสนุกในสายตาของผม
แต่บางครั้ง ถ้าเราปรับเปลี่ยนตามลูกค้ามาก มันก็จะเหมือนหญิงบริการหรือชายบริการ คือเราไม่มีจุดยืนของเราเลย มันไม่ได้ คือเหมือนไปคอยรองรับอารมณ์คนอื่นตลอดมันไม่ได้ เราต้องมีจุดยืนที่ชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องปรับตัวให้เข้าใจในสถานการณ์นั้นๆ เพราะเราไม่ได้ขายบริการในลักษณะที่ไม่ใช่องค์ความรู้มาช่วย ถ้าเราเจอลูกค้าแล้วครับๆ ได้ครับอยู่ตลอดเวลา เราจะไม่มีความสนุกกับงานเลย"
บทส่งท้าย
ท่านไม่ได้เป็นแค่เพียงสถาปนิกเพียงเท่านั้น แนวความคิด การที่กล้าที่จะทำกล้าที่จะเปลี่ยน การนำเอาสิ่งที่หลายคนมองข้ามมาใช้ประโยชน์เท่าที่จะสามารถ อีกทั้งแนวทางการอนุรักษ์โลกที่ท่านทำ รู้สึกเป็นเกียรติในชีวิตเป็นอย่างยิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยได้สัมผัสมือกับท่าน ณ อุทยานการเรียนรู้ เมื่อท่านไปปาฐกถาในครั้งนั้น
ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต
การศึกษาพ.ศ.2533: ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (Architectural Studies) University of Washington
ปริญญาตรี ด้านการออกแบบภายใน (Interior Design) University of Washington
ปริญญาตรี การจัดการโครงสร้าง (Construction Management) University of Washington
พ.ศ.2534: ปริญญาโท สถาปัตยกรรมศาสตร์ University of Washington / Rheinish – Westfalishe Technische Hochschule, Aachen
พ.ศ.2545: ปริญญาเอก สถาปัตยกรรม เทคโนโลยีการออกแบบ Massachusetts Institute of Technology(MIT)
GREEN DESIGN
ดร.สิงห์ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เป็นที่รู้จักกันดีกับผลงานออกแบบและสร้างสรรค์เฟอร์นิเจอร์และของแต่ง บ้านแบรนด์ Osisu ซึ่งล้วนทำมาจากวัสดุเหลือใช้ต่างๆ หรือจะเรียกง่ายๆ ว่า “ขยะ” นั่นเอง
ท่านว่า
“เริ่มต้นที่ทำเฟอร์นิเจอร์จากเศษวัสดุ เพราะเป็นสถาปนิกเลยได้เห็นเศษวัสดุจากงานก่อสร้าง อย่างเศษปูน เศษไม้ เศษเหล็ก ก็มาคิดว่าทำอย่างไรจะไม่ให้มีขยะออกไปจาก site งาน เพราะรู้สึกผิดที่เราทิ้งของดีๆพวกนี้ไป คือเศษวัสดุพวกนี้มันก็ยังเป็นของที่ไม่ได้เน่าเปื่อย เป็นของที่ยังดีๆ อยู่ เลยนำมาทำเป็นเก้าอี้ โต๊ะ เตียง เฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ๆ ทั้งหลาย”
ท่าน ยืนยันว่าไม่ได้นึกถึงเรื่องธุรกิจการค้า มากไปกว่าการหวังจะเผยแพร่แนวคิด ด้วยเหตุนี้แบรนด์ OSISU จึงพิสูจน์ตัว ด้วยการไม่เคยจดสิทธิบัตร เพราะไม่กลัวการลอกเลียนแบบ แต่กลับอยากให้ทุกผลิตภัณฑ์เป็นต้นแบบที่มีผู้นำไปพัฒนาต่อ
ทุกวันนี้ท่านได้เปิดวิชาเรียน Scrap Lab ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นวิชาการออกแบบเศษวัสดุ เปิดสอนทั้งนักศึกษาปริญญาตรีและโท รวมทั้งบุคคลภายนอก หรือผู้ประกอบการก็มาร่วม workshop ด้วยได้
ท่านบอกต่อว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา มนุษย์ทิ้งขยะแบบนี้กว่า 40 ล้านตันต่อปี ขยะบางชนิดต้องใช้เวลาเป็นพันๆ ปีกว่าจะย่อยสลายได้ บางชนิดยิ่งเผายิ่งสร้างมลพิษ ทุกอย่างกลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมไปหมด ดังนั้น ท่าน จึงเกิดความคิดว่า หากสามารถนำขยะพวกนี้กลับมาสร้างเป็นชิ้นงานที่มีประโยชน์ต่อการใช้สอยได้ อีกครั้งก็คงจะดีไม่น้อย
แรงบันดาลใจ
"การสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆมีหลายวิธีมากครับ บ่อยครั้งเราคิดไม่ออก ทุกคนจะรู้ว่าเวลาผมไปไหนจะมีสมุดโน๊ตติดตัวเสมอ วิธีของผมง่ายๆก็คือ ทุกอย่างที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเวลาไหน จะกี่โมงกี่ยาม มันจะถูกจดทันที พอถึงเวลาที่ผมคิดไม่ออก อาจจะตันเพราะแก่ ผมก็จะยังมีข้อมูลที่เซลล์สมองฉลาดๆคิดไว้ จดอยู่ในสมุดสเก็ตช์ตลอดเวลา คนอาจจะคิดว่าทำไมผมคิดได้ตลอดเวลา ที่จริงไม่ใช่ครับ พอคิดไม่ออกก็ไปเปิดดูในสมุดนี้ มันก็สิ่งที่สมองเราคิดมาก่อนแล้วทั้งนั้น นี่คือสิ่งที่ผมใช้ครับ"
แนวความคิดกับงานสถาปัตยกรรม
ท่านได้ให้แนวคิดไว้น่าสนใจดีครับ
"สถาปัตย์เป็นงานที่สนุกนะครับ เพราะมันต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์จริงๆ คำว่าศาสตร์นี่คงเข้าใจล่ะ คือใช้เลข วิศวกรรม แต่ศิลป์เนี่ยสิ ศิลป์ไม่ใช่ความสวยงามอย่างเดียวนะครับ ศิลป์หมายถึงศิลปะการพูดก็ได้ ศิลปะการนำเสนองาน ศิลปะการแต่งกาย ทุกอย่าง บางทีถ้าเราแต่งตัวดีมาก แต่ลูกค้าเราคือการเคหะฯ นั่นคือความไม่ฉลาดของสถาปนิกคนนั้นด้วยซ้ำ เหมือนเราไม่เข้าใจเค้า แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเรามีลูกค้าเป็น ยี่ห้อแอร์เมส หรือหลุยส์วิตตอง แล้วคุณใส่ขาสั้นลากรองเท้าแตะเข้าไปก็ไม่เหมาะแน่นอน ถ้าลูกค้าให้งบคุณมาห้าร้อยล้าน จัดปาร์ตี้แค่สามสี่วัน ในฐานะนักออกแบบ exhibition ออกแบบอาคารของเขา มันเป็นศิลปะตั้งแต่ตัวเรา ไปจนถึงการพูดของเรา ผลงานของเรา กระบวนการคิดทั้งระบบคือความสนุกในสายตาของผม
แต่บางครั้ง ถ้าเราปรับเปลี่ยนตามลูกค้ามาก มันก็จะเหมือนหญิงบริการหรือชายบริการ คือเราไม่มีจุดยืนของเราเลย มันไม่ได้ คือเหมือนไปคอยรองรับอารมณ์คนอื่นตลอดมันไม่ได้ เราต้องมีจุดยืนที่ชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องปรับตัวให้เข้าใจในสถานการณ์นั้นๆ เพราะเราไม่ได้ขายบริการในลักษณะที่ไม่ใช่องค์ความรู้มาช่วย ถ้าเราเจอลูกค้าแล้วครับๆ ได้ครับอยู่ตลอดเวลา เราจะไม่มีความสนุกกับงานเลย"
บทส่งท้าย
ท่านไม่ได้เป็นแค่เพียงสถาปนิกเพียงเท่านั้น แนวความคิด การที่กล้าที่จะทำกล้าที่จะเปลี่ยน การนำเอาสิ่งที่หลายคนมองข้ามมาใช้ประโยชน์เท่าที่จะสามารถ อีกทั้งแนวทางการอนุรักษ์โลกที่ท่านทำ รู้สึกเป็นเกียรติในชีวิตเป็นอย่างยิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยได้สัมผัสมือกับท่าน ณ อุทยานการเรียนรู้ เมื่อท่านไปปาฐกถาในครั้งนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
แสดงความเห็นให้รู้ว่าคุณมาชมกันหน่อยครับ