ชีวิตมีหลายสิ่งที่น่าสนใจ



love is the flower for which love is the honey : victor hugo

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สงสัย นอกกรอบ ปัญญา วิถีพุทธ

ย้อนไปสมัยเมื่อยังเด็ก เรามักจะมีคำถามที่สงสัย อะไรต่อมิอะไรกันมากมาย ซึ่งเฝ้าถามใครต่อใคร โดยจะมีคำตอบบ้าง(ถูกบ้างผิดบ้างจากคำตอบเหล่านั้น) หรือ บ้างทีเราก็ลืม หรือ เลิกสงสัยไปเองตามกาล
ข้อสงสัยที่อาจจะดูไร้ประโยชน์ในบางที แต่แปลกไหม ทุกวันนี้เราก็ยังคงสงสัยกันอยู่ เพียงแต่ เรา ไม่อิสระในความคิดเหมือนเช่นเดิม ทั้งๆที่เรามีปัจจัยที่จะค้นหา หรือ ทำข้อสงสัยเหล่านั้นให้กระจ่างได้ แปลกใจ


เมื่อเรามี "ปัญญา" (จะมากจะน้อยแล้วแต่ท่าน)ขึ้น เรากลับจำแนกความคิดไม่หลากหลาย  จริงๆการไม่รู้ หรือสงสัย หากจะตามมาด้วย การรู้ การหาให้หายสงสัย ย่อมเกิด " ปัญญา"  แต่เมื่อเราเติบโต มีปัญญา เวลาที่เราสงสัย กลับมีเหตุผลร้อยแปดมา สกัดกั้น หากข้อนั้นมันล่อแหลม มันเสี่ยง  เพราะเรามียั้งคิด เราจะไม่เอานิ้วไปจิ้มปลั๊กไฟเพราะแค่อยากจะรู้ว่ามีไฟฟ้าหรือไม่ การคิดแบบมี "ปัญญา" ตามธรรม

สัมมาทิฎฐิ หรือ ปัญญา(ทฤษฎีที่ถูกต้อง)มี 2 อย่างคือ
1.    ปัจจัยภายนอก เรียกว่าปรโตโฆสะ แปลว่าเสียงจากผู้อื่น รวมหมด คำ
บอกเล่า ข่าวสาร คำชี้แจง การแนะนำชักจูง การสั่งสอน การถ่ายทอด การได้
เรียนรู้จากผู้อื่น(กัลยาณมิตร)

2.    ปัจจัยภายใน เรียกว่าโยนิโสมนสิการ แปลว่าการทำในใจอย่างแยบคาย
การพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า การใช้ความคิดสืบสาวตลอดสาย การคิดอย่าง
มีระเบียบ  การคิดพิจารณาด้วยอุบาย การคิดแยกแยะออกดูตามสภาวะของ
สิ่งนั้นๆ โดยไม่เอาความรู้สึกด้วยตัณหาอุปาทานของตนเข้ามาจับ
ปัจจัยทั้งสองอย่างนี้ย่อมสนับสนุนซึ่งกันและกัน

(พุทธธรรมฉบับเดิม โดยพระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต)


แต่เมื่อเราสร้างกรอบ และ ยึดมั่นในกรอบ ในทางโลก กลับดูวังเวง บ้างว่าล้าหลัง ไม่เกิดใหม่ไม่ทันสมัย การคิดสร้างสรรค์ (ด้วยปัญญาหรือไม่????) ต้องหลุดกรอบ(จริงหรือ)  บ้างว่าให้คิดแบบเด็ก อย่ากลัว

สมัยนี้ผู้จึงคนค้นหา "ปัญญา"กันไปแบบ สังคม Creative ซึ่งรับเอามาใช้ในการแข่งขัน การดำรงชีวิตในสังคม 

แล้ว "ชาวพุทธ" ที่ยังสงสัยจะอยู่อย่างไร ในเมื่อ โลกต้องการ สิ่งสร้างสรรค์  หลายๆท่านยังไม่รู้ว่าจริงๆแล้ว "วิถีพุทธ" นั้นช่างละเมียดละไมในการสร้างชีวิต โดย
 
“วิถีพุทธ” นี้ จะพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหา จากความสามารถที่แท้จริงตามธรรมชาติของมนุษย์ และเสริมสร้าง “ความคิดสร้างสรรค์แบบพุทธ” ขึ้นมา  ซึ่งต่างจากความคิดสร้างสรรค์แบบตะวันตก  ตรงที่ “วิถีพุทธ” จะเน้นย้ำเรื่องคุณธรรม และการรักษาสมดุลทางจิตใจ ด้วยวิถีแห่งศีลสมาธิและปัญญา   ด้วยความเข้าใจทั้งต่อโลกภายนอก (ชีวิตและวิทยาศาสตร์) และโลกภายใน (จิตใจ)

คิดแบบพุทธ แบบโยนิโสมนสิการเป็นการคิดตามหลัก "วิถีพุทธ"ในการคิดของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นวิธีอันประเสริฐล้ำค่ายิ่ง เป็นวิธีการในการสร้างคนให้รู้จักคิด หรือคิดเป็น ประกอบด้วยลักษณะที่ดี 4 ประการ คือ การคิดถูกวิธี การคิดมีระเบียบ การคิดมีเหตุผล และการคิดที่มุ่งสิ่งที่เป็นกุศล กระบวนการที่ฝึกให้คนคิดดีและ ทำดีควบคู่ไปกับความรู้จริงและรู้แจ้ง เพื่อนำไปสู่ชีวิตที่ดี และมีคุณค่า แก่ตนเอง สังคม

กลับไปเมื่อครั้งยังเป็นเด็กเล็กๆกันอีกที ข้อสงสัยต่างๆที่ยังมี หรือ หลงลืม เอากลับมาค่อยๆคิดแบบ มี"ปัญญา" ตามแบบ "วิถีพุทธ" เราอาจจะได้สิ่งที่"สร้างสรรค์" แบบมีสติ ดีกว่าการหลงไปกับกระแสโลกาภิวัฒน์สร้างสรรค์หลุดกรอบ ที่เราไม่เคยรู้แจ้งเลยสักนิดเลย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความเห็นให้รู้ว่าคุณมาชมกันหน่อยครับ