เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระธรรมแล้ว ทรงเทศนาสั่งสอนพุทธบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระสงฆ์พุทธสาวกเป็นผู้รับมรดก ได้จดจำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้ พระพุทธศาสนาจึงดำรงอยู่ได้ตลอดจนกระทั้งปัจจุบันนี้
พระสงฆ์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นพุทธสาวก ดำรงชีวิตอยู่ได้ก็เพราะปัจจัยต่างๆ ที่เหล่าวชาวพุทธทั้งหลายพากันจัดถวาย ตราบใดที่ชาวพุทธยังบริจาคปัจจัยช่วยอุปถัมภ์บำรุงพระสงฆ์ก็ยังสามารถศึกษาเล่าเรียนรักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้ตราบนั้น และเมื่อใดชาวพุทธ เลิกบริจาคปัจจัยช่วยอุปถัมภ์บำรุงพระสงฆ์ เมื่อนั้นพระสงฆ์ก็ย่อมดำรงชีพอยู่ไม่ได้ พระพุทธศาสนาก็จะอันตรธานเสื่อมสูญไปอย่างแน่นอน
การใส่บาตรประจำวัน นับเป็นวิธีการสร้างบุญวาสนาบารมีอันจะเป็นบุพเพกกตปุญญตาสำหรับตนต่อไปอนาคตโดยตรง และเป็นผลดีที่ได้ช่วยสืบต่อพระพุทธศาสนาโดยอ้อม
ปกติการใส่บาตรประจำวัน นิยมทำตามกำลังศรัทธา และตามความสามารถแห่งกำลังทรัพย์เท่าที่จะทำได้ โดยไม่เกิดความเดือดร้อน ในการครองชีพ
๑. ปัจจัยสิ่งของสำหรับทำบุญบริสุทธิ์
๒. เจตนาของผู้ถวายบริสุทธิ์
๓. พระภิกษุสามเณรเป็นผู้บริสุทธิ์
หมายถึงที่มาแห่งปัจจัยนั้นๆ หรือวัตถุสิ่งของที่นำมาทำบุญนั้น ต้องได้มาโดยชอบ ดังมีลักษณะดังนี้
๑. เงินที่นำมาใช้จ่าย ซื้อหาวัตถุสิ่งของเหล่านั้น ต้องเป็นเงนที่ได้มาด้วยการประกอบสัมมาอาชีวะ เกิดจากหยาดเหงื่อและแรงงานของตนโดยตรง
๒. ของที่นำมาทำบุญนั้น เป็นของบริสุทธิ์ กล่าวคือไม่ได้เบียดเบียนชีวิตคนและสัตว์อื่นๆ อาทิ ฆ่าสัตว์มาทำบุญ ขโมยข้าวของมาทำบุญ ฯลฯ
๓. สิ่งของที่นำมาทำบุญนั้น ต้องเป็นของที่มีคุณภาพดี และเป็นส่วนที่ดีที่สุดในบรรดสิ่งของที่มีอยู่ อาทิ ข้าวสุกที่จะนำมาใส่บาตรนั้นควรเป็นข้าวปากหม้อ แกงก็เป็นแกงถ้วยแรกที่ตักออกจากหม้อ ฯลฯ
๔. วัตถุสิ่งของนั้น ควรแก่สมณบริโภค ไม่เกิดโทษแก่พระภิกษุสามเณร และมีปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการ
๑. ปุพพเจตนา หมายถึง ความตั้งใจก่อนจะทำบุญ มีความเลื่อมใสศรัทธา ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เสียดมเสียดาย
๒. มุญจนเจตนา หมายถึง ความตั้งใจขณะทำบุญ มีความเลื่อมใสศรัทธา มีความปลื้มปีติในการทำบุญ
๓. อปรเจตนา หมายถึง ความตั้งใจภายหลังการทำบุญไปแล้วภายใน ๗ วัน ได้ระลึกถึงการทำบุญที่ล่วงมาแล้ว มีปลี้มโสมนัสในบุญกุศลนั้นอย่างไม่เสียดาย
๔. อปราปรเจตนา หมายถึง ความตั้งใจภายหลังการทำบุญไปแล้วเกิน 7 วันไปแล้ว แม้จะเป็นเวลาเนิ่นนาน เมื่อหวนระลึกนึกถึงการทำบุญครั้งใด ก็ปลาบปลื้มยินดีครั้งนั้น
หมายถึง พระภิกษุสามเณรอันเป็นบุญเขตนั้น เป็นผู้บริสุทธิ์ กล่าวคือ ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ โดยสิ้นเชิง อันหมายถึงพระอริยบุคคล หรือพระภิกษุสามเณร เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์และเป็นผู้กำลังปฏิบัติเพื่อกำจัด ราคะ โทสะ โมหะ
พระสงฆ์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นพุทธสาวก ดำรงชีวิตอยู่ได้ก็เพราะปัจจัยต่างๆ ที่เหล่าวชาวพุทธทั้งหลายพากันจัดถวาย ตราบใดที่ชาวพุทธยังบริจาคปัจจัยช่วยอุปถัมภ์บำรุงพระสงฆ์ก็ยังสามารถศึกษาเล่าเรียนรักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้ตราบนั้น และเมื่อใดชาวพุทธ เลิกบริจาคปัจจัยช่วยอุปถัมภ์บำรุงพระสงฆ์ เมื่อนั้นพระสงฆ์ก็ย่อมดำรงชีพอยู่ไม่ได้ พระพุทธศาสนาก็จะอันตรธานเสื่อมสูญไปอย่างแน่นอน
การทำบุญใส่บาตรประจำวัน
การที่ชาวพุทธทั้งหลายช่วยกันบริจาคปัจจัยอุปถัมภ์บำรุงด้วยการทำบุญใส่บาตรพระสงฆ์ในตอนเช้าของทุกๆ วัน นับได้ว่าเป็นหนึ่งที่ได้ช่วยกันสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ และให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไปการใส่บาตรประจำวัน นับเป็นวิธีการสร้างบุญวาสนาบารมีอันจะเป็นบุพเพกกตปุญญตาสำหรับตนต่อไปอนาคตโดยตรง และเป็นผลดีที่ได้ช่วยสืบต่อพระพุทธศาสนาโดยอ้อม
ปกติการใส่บาตรประจำวัน นิยมทำตามกำลังศรัทธา และตามความสามารถแห่งกำลังทรัพย์เท่าที่จะทำได้ โดยไม่เกิดความเดือดร้อน ในการครองชีพ
การทำบุญใส่บาตรพระสงฆ์ ประกอบด้วย องค์คุณ 3 ประการ คือ
๑. ปัจจัยสิ่งของสำหรับทำบุญบริสุทธิ์
๒. เจตนาของผู้ถวายบริสุทธิ์
๓. พระภิกษุสามเณรเป็นผู้บริสุทธิ์
ปัจจัยสิ่งของสำหรับทำบุญบริสุทธิ์
หมายถึงที่มาแห่งปัจจัยนั้นๆ หรือวัตถุสิ่งของที่นำมาทำบุญนั้น ต้องได้มาโดยชอบ ดังมีลักษณะดังนี้
๑. เงินที่นำมาใช้จ่าย ซื้อหาวัตถุสิ่งของเหล่านั้น ต้องเป็นเงนที่ได้มาด้วยการประกอบสัมมาอาชีวะ เกิดจากหยาดเหงื่อและแรงงานของตนโดยตรง
๒. ของที่นำมาทำบุญนั้น เป็นของบริสุทธิ์ กล่าวคือไม่ได้เบียดเบียนชีวิตคนและสัตว์อื่นๆ อาทิ ฆ่าสัตว์มาทำบุญ ขโมยข้าวของมาทำบุญ ฯลฯ
๓. สิ่งของที่นำมาทำบุญนั้น ต้องเป็นของที่มีคุณภาพดี และเป็นส่วนที่ดีที่สุดในบรรดสิ่งของที่มีอยู่ อาทิ ข้าวสุกที่จะนำมาใส่บาตรนั้นควรเป็นข้าวปากหม้อ แกงก็เป็นแกงถ้วยแรกที่ตักออกจากหม้อ ฯลฯ
๔. วัตถุสิ่งของนั้น ควรแก่สมณบริโภค ไม่เกิดโทษแก่พระภิกษุสามเณร และมีปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการ
เจตนาของผู้ถวายบริสุทธิ์
เจตนา หมายถึง ความจงใจหรือความตั้งใจของผู้ทำบุญนั้นต้องบริสุทธิ์ในเวลาทั้ง ๔ กล่าวคือ๑. ปุพพเจตนา หมายถึง ความตั้งใจก่อนจะทำบุญ มีความเลื่อมใสศรัทธา ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เสียดมเสียดาย
๒. มุญจนเจตนา หมายถึง ความตั้งใจขณะทำบุญ มีความเลื่อมใสศรัทธา มีความปลื้มปีติในการทำบุญ
๓. อปรเจตนา หมายถึง ความตั้งใจภายหลังการทำบุญไปแล้วภายใน ๗ วัน ได้ระลึกถึงการทำบุญที่ล่วงมาแล้ว มีปลี้มโสมนัสในบุญกุศลนั้นอย่างไม่เสียดาย
๔. อปราปรเจตนา หมายถึง ความตั้งใจภายหลังการทำบุญไปแล้วเกิน 7 วันไปแล้ว แม้จะเป็นเวลาเนิ่นนาน เมื่อหวนระลึกนึกถึงการทำบุญครั้งใด ก็ปลาบปลื้มยินดีครั้งนั้น
ผลานิสงฆ์เจตนาบริสุทธิ์
คนที่ทำบุญด้วยเจตนาหรือความตั้งใจบริสุทธิ์ทั้ง ๔ เวลาดังกล่าวนี้ ต่อไปในอนาคต เมื่อเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ ย่อมมีความสุขความเจริญ ตั้งแต่เกิดตลอดจนสิ้นอายุขัยในภาพและชาตินั้นๆพระภิกษุสามเณรผู้บริสุทธิ์
หมายถึง พระภิกษุสามเณรอันเป็นบุญเขตนั้น เป็นผู้บริสุทธิ์ กล่าวคือ ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ โดยสิ้นเชิง อันหมายถึงพระอริยบุคคล หรือพระภิกษุสามเณร เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์และเป็นผู้กำลังปฏิบัติเพื่อกำจัด ราคะ โทสะ โมหะ